ต้นแบบของ Kamen Rider ยุค Heisei… “แปลงร่าง!” คำๆ นี้เราเชื่อว่าทุกคนต้องเคยได้ยิน ไม่ว่าจะจากซีรี่ส์ประเทศไหน โดยเฉพาะในวัยเด็กที่เราเคยนั่งอยู่หน้าจอทีวีเพื่อรอดูซีรี่ส์ไอ้มดแดง หรือขบวนการห้าสี
“แปลงร่าง!”
คำๆ นี้เราเชื่อว่าทุกคนต้องเคยได้ยิน ไม่ว่าจะจากซีรี่ส์ประเทศไหน โดยเฉพาะในวัยเด็กที่เราเคยนั่งอยู่หน้าจอทีวีเพื่อรอดูซีรี่ส์ไอ้มดแดง หรือขบวนการห้าสี
ในที่นี้เราจะมาพูดถึง “ไอ้มดแดง” กันนะคะ
แต่เอ๊ะ! ทำไมเค้าถึงเรียกกันว่า “ไอ้มดแดง” นั่นก็เพราะว่า ไอ้มดแดง หรือที่ชาวญี่ปุ่นเรียกกันว่า Kamen Rider ยุคแรกๆ นั้นมีหน้าตาคล้ายๆ มด พอมีซีรี่ส์ต่อๆ มา แม้ว่าจะมีอเมซอนมาเพิ่ม ยังเรียกกันว่ามด แต่พอไอ้มดแดงเข้าสู่ยุคเฮเซ (Heisei) รูปแบบก็เริ่มเปลี่ยนไปเรื่อยๆ โดยเฉพาะส่วนเข็มขัดที่เป็นสิ่งสำคัญในการแปลงร่าง ที่ในยุคโชวะ (Showa) มักจะถูกฝังในร่างกายเพราะเป็นมนุษย์ดัดแปลง และนี่คือหัวข้อที่เราจะมาพูดคุยกันวันนี้ค่ะ!
ซีรี่ส์ Kamen Rider ในยุคเฮเซนั้นเริ่มมาตั้งแต่ Kamen Rider Kuuga (2000) จนถึง Kamen Rider Wizard (2012) รูปร่างหน้าตา เข็มขัด และเนื้อเรื่องก็เปลี่ยนไปตามกาลเวลา เช่น ต้นแบบของตัวไรเดอร์ หรือตัวร้าย
ต้นแบบของไรเดอร์ตัวนี้ “ด้วงกว่าง” เพราะชื่อ Kuuga มาจากคำว่า Kugawata ซึ่งแปลว่าด้วงกว่าง และอยู่ในช่วงรอยต่อระหว่างยุคโชวะกับยุคเฮเซก็เลยมีกลิ่นอายของความเป็น มนุษย์ดัดแปลงอยู่พอตัว
ต้นแบบของซีรี่ส์นี้มาจากตัวด้วง ลักษณะตัวไรเดอร์นั้นจะมีลักษณะคล้ายๆ กับคูกะอยู่บ้าง ซีรี่ส์นี้ใช้ความเป็นตำรวจมาดำเนินเรื่องเพื่อกำจัดปีศาจที่ชื่อว่า “อันโนน”
ต้นแบบของซีรี่ส์นี้มาจาก “อัศวินในเทพนิยาย” และ “ไพ่ทำนาย” ดูจากลักษณะของตัวไรเดอร์แต่ละตัวที่มีหน้ากากคล้ายกับหน้ากากของนักรบสมัย ก่อน และชื่อของไรเดอร์แต่ละตัวก็มีทั้ง ผู้ขี่มังกร (ริวคิ) ไนท์ โซลด้า (ภาษาฝรั่งเศส แปลว่าทหาร) หรือจะเป็นชื่อของเทพ เช่น โอดีน ไก(อา) รวมไปถึงการแปลงร่างที่ต้องใช้กระจกสะท้อน
เข้าสู่ปี 2003 ในยุคที่เทคโนโลยีกำลังพัฒนาต้นแบบของซีรี่ส์นี้จึงไม่พ้น “ความทันสมัย” โดยการใช้โทรศัพท์มือถือเข้ามาเกี่ยวข้อง และมีองค์กรพิเศษที่ชื่อ “สมาร์ทเบรน” แต่แล้วก็ยังมีกลิ่นอายของความเป็นอดีตอยู่ ถ้าสังเกตดีๆ ไรเดอร์แต่ละตัวจะมีอักษรกรีกโบราณอยู่บนหน้ากาก เช่น ไฟซ์ – Ф(Phi) / Kaixa – X (Chi) / Delta – ∆ (Delta) / Psyga – Ψ (Psychic) / Orga – Ω (Omega) และความหมายของสัญลักษณ์ก็จะเป็นคุณสมบัติของไรเดอร์ตัวนั้นๆ ไป
หากใครชอบทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวกับไพ่ ในชีวิตจริงก็คงไม่น่าพลาดซีรี่ส์นี้ เพราะไรเดอร์ในเรื่องนี้มาจาก “ไพ่” ใช่ค่ะ ไพ่ที่ไว้ใช้เล่นกันในหมู่คนทั่วไป แล้วก็เอามาใช้ทำนายอนาคตเหมือนไพ่ทาโร่ต์ แต่ก็ยังคงมีความเป็นเทคโนโลยีอยู่ ซีรีส์นี้จะมีองค์กรที่ชื่อว่า B.O.A.R.D. สร้างไรเดอร์ขึ้นมาเพื่อผนึกอันเดตลงในการ์ด
ตัวไรเดอร์ แต่ละตัวก็จะมีความหมายคือ Blade – โพธิ์แดง (ดาบ) / Garen – ข้าวหลามตัด (เหรียญ) / Chalice – หัวใจ (ถ้วย) / Rengel – โพธิ์ดำ (ไม้เท้า) และตัวร้ายของเรื่องคือ Joker ตรงตัวเลยค่ะ ในเรื่องจะเป็นบุคคลที่เราคาดไม่ถึง เหมือนกับไพ่โจ๊กเกอร์ที่จะเป็นพวกไหนก็ได้ และยังมีไรเดอร์ตัวอื่นๆ ที่ตั้งตามอาวุธประจำตัว เช่น Glave (ภาษาฝรั่งเศส แปลว่า ดาบ) Larc (ภาษาฝรั่งเศส แปลว่าธนู) Lance (หอก)
กลับสู่ความเป็นญี่ปุ่นอีกครั้ง ซีรี่ส์นี้จะเดินเรื่องด้วยตำนานของญี่ปุ่น นั่นก็คือ “ยักษ์” และความเชื่อโบราณ ที่น่าสนใจ มีการใช้อุปกรณ์ที่ทำให้เกิดเสียง (องเงคิ) เป็นอาวุธ เช่น ไม้กลอง ทรัมเป็ต กีตาร์ แต่ก็ยังคงความทันสมัยไว้คือ Disk Animal ลักษณะคล้ายแผ่นซีดี แต่ถ้าใช้ Onkaku (ลักษณะคล้ายส้อม) ไปตีจะเปลี่ยนร่างออกมาเป็นสัตว์แต่ละชนิดได้
ไรเดอร์แต่ละตัวจะมีสัญลักษณ์เหมือนวงดนตรีซักวงที่มีนักร้องหลายเสียง เช่น ฮิบิกิจะเป็นเสียงโทร Middle Voice อิบูกิจะเป็นเสียงโทน Head Voice ส่วนโทโดโรกิจะเป็นเสียงโทน Chest Voice
หลังจากที่ห่างหายจากความเป็นแมลงไปหลายปี กลับมาคราวนี้ใช้ชื่อตรงตัวเลยว่า “คาบูโตะ” ต้นแบบของไรเดอร์คาบูโตะก็คือ “ด้วงคาบูโตะ” ค่ะ เกิดจากองค์กร Zect ที่สร้างขึ้นมาเพื่อกำจัด “เวิร์ม” ปีศาจร้ายที่ติดมากับอุกกาบาตที่พุงชนโลกในอดีต คอยปลอมตัวเป็นมนุษย์และกำจัดมนุษย์ทิ้ง
ซีรี่ส์นี้ไรเดอร์แต่ละตัว มีต้นแบบมาจากสัตว์ที่ต่างกัน เช่น Kabuto – ด้วงคาบุโตะ / The Bee – ผึ้งงาน / Drake – แมลงปอ / Sasword – แมงป่อง / Kick Hopper & PunchHopper – ตั๊กแตน
ออกเดินทางข้ามกาลเวลาด้วยรถไฟ ซีรี่ส์นี้จะเน้นเกี่ยวกับ “ช่วงเวลา” และ “รถไฟ” ชื่อเรื่องเป็นการย่อจากคำว่า Densha และ Ouji รวมๆ ก้นแล้วจะแปลได้ว่า “เจ้าชายแห่งรถไฟ” ซึ่งก็คือชื่อของไรเดอร์ “เดนโอ” นั่นเอง
ลักษณะการแปลงร่างของซีรี่ส์นี้จะไม่เหมือนซีรี่ส์อื่น เชื่อว่าทุกคนที่อ่านบทความนี้อยู่ต้องเคยขึ้นรถไฟฟ้าหรือรถไฟใต้ดินที่ต้อง ที่มีการแตะบัตรถึงจะเข้าไปในชานชาลาได้ (พระเอกเราเก็บได้โดยบังเอิญ) เรื่องนี้ก็เป็นอย่างนั้นค่ะ ก่อนจะขึ้นรถไฟ “เดนไลเนอร์” ได้ ต้องมีตั๋วก่อน และกว่าจะเป็นไรเดอร์เท่ๆ ได้ ก็ต้องมีร่างก่อนแปลง คือร่าง “Plat form” เป็นร่างโล้นๆ เหมือนชานชาลารถไฟ ต้องมี “อิมาจิน” ที่ขึ้นรถไฟมาด้วย ได้แก่ Momotoras – Sword form (ลูกท้อ) / Urataros – Rod from (เต่า) / Kintaros – Axe form (ขวาน) / Ryutaros – Gun form (มังกร) / Sieg – Wing form (นก) และไรเดอร์ตัวรองที่มีต้นแบบมาจากทางช้างเผิอก
สำหรับซีรี่ส์นี้ ให้นึกถึงละครรักต้องห้ามหลังข่าวซักเรื่องเข้าไว้ ผสมเข้ากับความเป็นโกธิคยุคที่มีแวมไพร์ รักสามเศร้าของรุ่นแม่ และรักหักเหลี่ยมโหดของพี่น้องในรุ่นลูก
สเน่ห์ของเรื่องนี้จะอยู่ที่ความเป็นโกธิค Kiva แปลว่าเขี้ยว (Kiba) ใช้ค้างคาวในการแปลงร่าง การเปลี่ยนฟอร์มก็ใช้นกหวีดเรียกพรรคพวก มีไรเดอร์ตัวรองเป็น Ixa ซึ่งเป็นอัศวิน มาจากคำว่า Intercept X Attacker เหมือนที่ในสมัยก่อนจะมีอัศวินล่าแวมไพร์
ไรเดอร์ตัวที่สิบของยุคเฮเซ มีที่มาจาก “บาร์โค้ด” และถูกสร้างขึ้นมาเพื่อสร้างตู้เกม Ganbaride เป็นเกมที่เป็นการรวมตัวของคาเมนไรเดอร์ยุคก่อนๆ มาสู้กัน ทำให้ต้องมีบาร์โค้ดเป็นตัวอ่าน และตัวดีเคดก็เป็นบาร์โค้ด รวมไปถึงตัวรอง ดิเอนด์ก็เป็นบาร์โค้ดเช่นกัน
จากซีรี่ส์นี้ ถ้าคาดการณ์ไม่ผิด จะเริ่มนับ 1 กันใหม่
ซีรี่ส์นี้ดึงความเป็นเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ออกมาได้สมบูรณ์แบบในระดับหนึ่ง เพราะการแปลงร่างนี้ใช้ “Flash Drive” ที่ใช้เก็บข้อมูลในคอมมาแปลงร่าง แต่ที่พิเศษคือ ไรเดอร์ดับเบิ้ลเป็นไรเดอร์ที่ต้องใช้สองคนแปลง คนหนึ่งควบคุมซีกซ้าย (พลกำลัง) อีกคนควบคุมซีกขวา (ปัญญาและไหวพริบ) และการดำเนินเรื่องก็ดึงเอาเนื้อเรื่องแนวนักสืบมาใช้ตามหาตัวร้าย นอกจากนี้ยังมีไรเดอร์ Accel ที่ดัดแปลงมาจากมอเตอร์ไซค์บิ๊กไบค์ของตำรวจด้วย
กลับมาอีกครั้งกับ “สัตว์โลก” ซีรี่ส์นี้มีต้นแบบมาจากสรรพสัตว์ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น นกอินทรีย์ ช้าง เสือ แรด สิงโต ทั้งหมดนี้ใช้วิธีการแปลงร่างโดยเหรียญ และที่น่าทึ่งคือมอเตอร์ไซค์ที่แปลงมาจากตู้กดน้ำ! ซีรี่ส์นี้ถ้าดูดีๆ จะเหมือนเกม RPG ที่ต้องตีมอนสเตอร์แล้วจึงได้เหรียญมาเก็บไว้ใช้กับอาวุธ
ซีรี่ส์นี้เรียกได้ว่าหลุดโลกได้เลย เพราะต้นแบบของไรเดอร์ในซีรี่ส์นี้มาจาก “จรวด” ที่ในปีนั้นมีวันครบรอบ 50 ปีของยูริ กาการินที่ได้ขึ้นไปอวกาศเป็นครั้งแรกด้วย เข็มขัดของตัวโฟรเซ่ก็คล้ายๆ กับแผงควบคุมของจรวดด้วย
ซีรี่ส์ล่าสุดของคาเมนไรเดอร์ มีต้นแบบมาจาก “พ่อมด” โดยวิธีแปลงร่างคือใส่แหวนแล้วสแกนผ่านหน้าเข็มขัด
จบกันไปกับธีมเรื่องในแต่ละซีรี่ส์นะคะ คิดว่าหลายๆ คนคงได้รู้ว่าจริงๆ แล้วหนังคาเมนไรเดอร์ (Kamen Rider) มันไม่ได้มาจากมดทั้งหมด ยิ่งในยุคที่เทคโนโลยีกำลังเฟื่องฟู อีกไม่นานเราอาจจะได้เห็นไรเดอร์แปลงร่างด้วยแท็บเล็ตก็เป็นไปได้นะ
เรื่องที่เกี่ยวข้อง >>
– ริคิมารุ โทโฮ นักเล่ามังงะ
– ไดสุเกะ อิโนะอุเอะ (Daisuke Inoue) ผู้คิดค้นคาราโอเกะที่โลกลืม
– นักพากย์ผู้เพิ่มอรรถรสในการชมหนังต่างประเทศ..แต่ทำไม?!?
– เก็นจิโมโนกาตาริ (Genji Monogatari)
– เจ้าหมีพักผ่อน..Rilakkuma
#kamen rider