สิ่งที่เกิดขึ้นเงียบ ๆ ในช่วงฤดูหนาว และระเบิดแบบหิมะถล่มเมื่อสิ้นสุดฤดูหนาวก็คือ ชาวฟินแลนด์และชาวสวีเดน กว้านซื้อ VDO ไอ้เขี้ยวเงินหมดร้าน ส่งผลให้สินค้าขาดตลาดในทันที
ไอ้เขี้ยวเงิน การ์ตูนเกี่ยวกับหมาล่าหมี หรือหมานักสู้ ซึ่งมีศัตรูเป็นทั้งหมาต่างพันธุ์และหมี ซึ่งอิชั้นได้ดูสมัยก่อนตอนอิชั้นยังเด็ก ตอนนั้นฉายทาง ช่อง 7 ช่วงเย็น ๆ เราเป็นคนหนึ่งที่ติดมาก และตอนหลังได้อ่านแบบการ์ตูนด้วย
ตอนมีฉายก็กลับบ้านไปดู ลุ้นมาก ทั้งสู้กับหมาด้วยกัน รวบรวมเพื่อนพ้องไปสู้กับหมี อากาบูโตะ หมีในตำนานที่มีความดุร้ายสุด ๆ ตอนเด็กยังคิดหมาจะไปชนะหมีได้ยังไง?
ไอ้เขี้ยวเงิน
เจ้าเขี้ยวเงินเป็นการ์ตูนแนวหมาล่าสัตว์ ที่ฝึกฝนและรวมพลังกับหมาพันธุ์ต่าง ๆ จุดประสงค์คือเพื่อฆ่าหมียักษ์หลังแดงอากาบูโตะ ประมาณนี้ โดยเดินเรื่องตั้งแต่ยังเล็กและค่อย ๆ เติบโตขึ้น กล้าหาญขึ้น และเก่งขึ้น ค่อย ๆ เติบโตทำให้เกิดความน่าติดตาม
ซึ่งตอนแรกที่อ่านจะมีแค่คนที่พูดได้ จนมีการปรับบทให้หมาคุยกันได้ และทำให้เกิดความนิยมและทำให้เด็ก ๆ รักหมามากขึ้น
การ์ตูนไอ้เขี้ยวเงินในไทยยุคแรก ๆ
ไอ้เขี้ยวเงินก็เป็น 1 ใน การ์ตูนดังในยุค 90 ซึ่งก็มีเรื่องดังหลายสิบเรื่องในยุด แล้วมีอะไรน่าแปลกใจ แต่มีสิ่งที่คุณอาจไม่ทราบ เราเลยจะเล่าให้คุณฟัง
ปี 1983
ไอ้เขี้ยวเงินหรือในชื่อ 銀牙 -流れ星 銀 ชื่ออังกฤษ Ginga: Nagareboshi Gin ซึ่งแปลว่า เขี้ยวสีเงิน ทุกชื่อถือลิขสิทธ์โดยค่าย Shueisha และลงตีพิมพ์ครั้งแรกใน Weekly Shōnen Jump และทำเป็นการ์ตูนอนิเมะ โดย Toei Animation ออกฉายทางทีวีในเวลาต่อมา
ไม่ทราบปีแน่ชัด
ทาง Toei Animation นำอนิเมะเรื่องนี้ไปจำหน่ายในประเทศฝั่งยุโรป ในรูปแบบ VIDEO ชนิด VHS และลิขสิทธิ์การฉายตามช่อง แต่มีการเซนเซอร์หลายฉาก เนื่องจากมีฉากความรุนแรง เพราะถือเป็นการ์ตูนสำหรับเด็กดูในสมัยนั้นเลยทำให้ขายไม่ง่าย
ทางตัวแทนญี่ปุ่นที่เอาการ์ตูนไปเสนอผู้จัดจำหน่ายในยุโรป เป้าหมายหลัก ๆ คือ ฝรั่งเศส ที่นิยมการ์ตูน และอนิเมะ ซึ่งตัวแทนนำหลายเรื่องดังไปเสนอ แต่กลายเป็นฟินแลนด์กับสวีเดน สนใจเรื่องนี้มากกว่าการ์ตูนทุกเรื่องที่นำเสนอตอนนั้น
นั่นเพราะในทั้ง 2 ประเทศ เป็นพื้นที่ห่างไกล ทั้ง 2 ประเทศมีวัฒนธรรมคล้ายกันคือ การเข้าป่าล่าสัตว์ เดินป่าแบบมีหมานำทางไปด้วย เป็นที่นิยมมายาวนาน และเป็นอาชีพของคนจำนวนมาก ประกอบกับช่วงหน้าหนาวที่ต้องอาศัยในที่พักจนกว่าจะพ้นฤดูหนาว กิจกรรมที่จะฆ่าเวลาสำหรับเด็กและผู้ใหญ่คือ ดูหนัง ฟังเพลงในที่พัก (ยุค 80-90) และก็พอดีกับที่ทางไอ้เขี้ยวเงินได้ฉายทางทีวีปีนั้นพอดี
สิ่งที่เกิดขึ้นเงียบ ๆ ในช่วงฤดูหนาว และระเบิดแบบหิมะถล่มเมื่อสิ้นสุดฤดูหนาวก็คือ ชาวฟินแลนด์และชาวสวีเดน กว้านซื้อ VDO ไอ้เขี้ยวเงินหมดร้าน ส่งผลให้สินค้าขาดตลาดในทันที เพราะผู้ใหญ่ก็ติด เนื่องจากเป็นพรานล่าสัตว์ และพรานจะเลี้ยงหมาคู่กายอยู่แล้ว และการดูกับลูกแล้วลูกชอบ พ่อยิ่งเชียร์ เพราะเป็นการปลูกฝังให้ลูกรักอาชีพนี้ รักหมา และเป็นการสื่อสารให้กับเด็กว่า “หมีอันตราย” เพราะที่นั่นก็มีหมี
VDO ที่ขาดตลาดตอนนั้น ปัจจุบันเป็นของสะสมราคาแพง
ในตอนนั้นทั้ง 2 ประเทศ จะเลี้ยงหมาพันธุ์ใหญ่ด้วย เพราะอาศัยในพื้นที่ห่างไกล ใกล้ธรรมชาติการมีหมาไว้ระวังความปลอดภัยเป็นที่นิยม บางพื้นที่ใช้ในการลากเลื่อนด้วย และตัวละครบางตัวจากเรื่องเขี้ยวเงินสร้างเสน่ห์ให้คนดูที่เลี้ยงหมาด้วย
ปัจจัยเสริมสุดท้ายในมุมผู้ใหญ่ ที่ตอนนั้นประเทศแถบนอดิคส์มีปัญหากับรัสเซีย และตัวร้ายในเรื่องคือ หมียักษ์ = สัญลักษณ์ของรัสเซีย และหลังสีแดงของหมีที่เป็นปาน ไปละม้ายกับท่านผู้นำท่านหนึ่งของรัสเซีย (ท่านมิคาอิล กอร์บาชอฟ) แถมยังเป็นสีแดง ซึ่งเป็นสีประจำชาติรัสเซียในตอนนั้นอีก (อ้างอิงจากคนฟินแลนด์) ทำให้ผู้ใหญ่ ครู ผู้ปกครองไม่ห้าม แถมยังแนะนำให้ดูประมาณว่าดูเลยจ้า การ์ตูนดี
จากกระแสที่แรง ทำให้เดนมาร์ก ต้องหันมาขอซื้อสิทธิ์มาฉายด้วย และมีการจัดจำหน่ายใหม่ ในเวอร์ชั่น UNCENSOR ไปด้วย (2003-2006) เพราะพื้นฐาน อากาศ ภูมิภาค และวัฒนธรรมของ 3 ประเทศนี้ใกล้เคียงกัน จึงชอบเหมือน ๆ กัน นั่นเอง
ไอ้เขี้ยวเงินเวอชั่น UNCENSOR ที่ออกวางขาย
ปี 199X – 2012
เฮลซิงกิ 2011
ทางต้นสังกัดที่ญี่ปุ่น ได้รับการติดต่อจากฝั่งฟินแลนด์และสวีเดนว่าอยากให้ อาจารย์ Yoshihiro Takahashi ผู้วาด เดินทางมาหาแฟนที่ฟินแลนด์ที เพราะแฟน ๆ รีเควสมา และสินค้าที่เป็นเขี้ยวเงิน รวมถึงภาคต่ออย่าง WEED ก็ขายดีมาก ส่วนทางต้นสังกัดถึงกับงง เพราะกระแสในญี่ปุ่นก็ฮิตพอประมาณ ในประเทศอื่น ๆ ก็โอเค แต่ไม่นึกไม่ฝันมาก่อนเลยว่า ประเทศแสนห่างไกลจะนิยมเรื่องนี้มาก ระดับที่เรียกว่า คลั่งไคล้สุด ๆ และมีกลุ่มแฟนคลับด้วย
ทางทีมงานตรวจสอบความนิยมจนมั่นใจ จึงไปแจ้งอาจารย์ Yoshihiro Takahashi และ สุดท้ายทางต้นสังกัดจึงพา อ. Yoshihiro Takahashi ไปยังเมือง เฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ พร้อมทีมงานเพื่อโปรโมท มีทแอนด์กริ๊ด กับแฟน ๆ และรวบรวมข้อมูลการตลาดกลับไปอีกด้วย
14 Jul 2012 เมือง Kuopio, Finland
อาจารย์ Yoshihiro Takahashi เดินทางไปฟินแลนด์ ตรงช่วงกับงาน ANIMECON ทางฝั่งยุโรป และได้รับเชิญขึ้นเวทีคุยเรื่องผลงานของ อ. Yoshihiro Takahashi
ของที่ระลึกในงาน ANIMECON
17 Jul 2012
มีการจัดงานมีทแอนด์กรี๊ด ณ ร้านหนังสือแห่งหนึ่งในเมือง เฮลซิงกิ สิ่งแรกที่พิธีกรพูดกับอาจารย์ คือ WELCOME BACK ยินดีต้อนรับการกลับมา ซึ่งอาจารย์ Yoshihiro Takahashi กล่าวขอบคุณ และพูดคุยผ่านล่าม โดยมีแฟน ๆ มานั่งดูแน่นร้าน
อ. Yoshihiro Takahashi ตั้งโต๊ะแจกลายเซ็นต์
แฟน ๆ ดักขอลายเซ็นต์ อ. Yoshihiro Takahashi
ตัวอย่างลายเซ็นต์ของแฟน ๆ
โดยไฮไลท์ในงานคือ อ. Yoshihiro Takahashi โชว์วาดภาพสดในร้าน
พอทีมงานและ อ. Yoshihiro Takahashi กลับมาถึงญี่ปุ่น แผนการตลาดก็เริ่มขึ้น
1. คนที่นั่นมีช่วงเวลาอยู่ในบ้านนานมากเพราะอากาศหนาว เราต้องขายบอร์ดเกมส์ เพราะคนที่นั่นฆ่าเวลาด้วย บอร์ดเกมส์หลายบ้าน (คนที่นั่นยังนิยมบอร์ดเกมส์ต่าง ๆ จนถึงทุกวันนี้ สุดยอดการฆ่าเวลา) เลยมีการผลิตบอร์ดเกมส์ ไอ้เขี้ยวเงินออกมา ส่งไปขายไม่นานก็หมดเกลี้ยงแผง (ดูภาพประกอบ)
2. ทำตุ๊กตาไปขาย เพราะเท่าที่เห็น เด็กจะมีตุ๊กตาตัวใหญ่ ๆ ไว้ทุกบ้านเพราะ มันช่วยให้เด็กอบอุ่นขึ้นด้วย เลยกลับมาผลิตตุ๊กตาขนาดใหญ่ ตามคาแรคเตอร์ไปจำหน่าย ถล่มทลายอีกเช่นเคย (ดูภาพประกอบสินค้าปัจจุบัน)
3. VDO ทำปกใหม่ ใส่ภาษานอดิค ทั้งหมด ปรับรูปแบบใหม่ แบบไม่เซนเซอร์ และทำแผ่นเสียงเพลงประกอบและบรรเลงขายไปด้วย (ดูภาพประกอบ)
4. ของเล่นที่ต้องสะสมให้ครบ ไม่ว่าจะการ์ด เมนไตโกะ โมเดลขนาดเล็ก (รูปแบบอันคุ้นเคย) ซึ่งขายดีอีกเช่นเคย และราคาสูงพอสมควรในปัจจุบัน
สรุป
บริษัทโกยกำไรอย่างไม่น่าเชื่อ จากประเทศที่ไม่ได้อยู่ในแผนการตลาดด้วยซ้ำในตอนแรกและ ณ จุดนี้ทำให้ผู้เขียนต้องเขียนภาคต่อออกมาเรื่อย ๆ เพราะฐานลูกค้าแข็งแรงมาก โดย WEED ทายาท เขี้ยวเงินก็ได้ถูกเขียนและสร้างออกมาเป็นอนิเมะ รวมถึงสินค้าจำนวนมาก ซึ่งแทบไม่ส่งไปจำหน่ายที่ไหนนอกจาก ฝั่งสแกนดิเนเวีย ญี่ปุ่นเป็นชาติที่เข้าใจการตลาดเรื่องการทำของเล่นที่ถูกใจแฟน ๆ จึงมีการทำสินค้าออกมามากมายหลายแบบ และขายดีมาก และเริ่มทำสินค้าพื้นฐาน เช่น เสื้อ หนังสือแบบพรีเมี่ยม โปสเตอร์ โปสการ์ด ไอ้เขี้ยวเงินแม้จะจบไปแล้ว แต่ก็ยังเป็นที่รู้จักของคนที่นั่น ในส่วนของสินค้าที่เกี่ยวกับเขี้ยวเงิน WEED กลายเป็นของสะสมราคาสูง โดยเล่ม 1 ปี 2001 ราคาเล่มละ 2,xxx บาท แม้แต่ละครเวทีไอ้เขี้ยวเงิน ที่แสดงโดยคนสวมชุด ที่เพิ่งแสดงไปก็ยังถูกใส่ซับ และจำหน่ายเป็น DVD ส่งขายทันทีผ่านทาง AMAZON FINLAND ส่วนเด็กในยุคนั้นปัจจุบันเป็นผู้ใหญ่แล้ว แต่ก็ยังรักไอ้เขี้ยวเงินอยู่เสมอ ส่วนหนึ่งที่ถือเป็นหลักฐานความนิยมในวัยเด็กของประชากรแถบนั้นได้คือ รอยสักของคนที่นั่น ลองชมรอยสักยอดนิยมของ ชาวสวีเดน ฟินแลนด์ และเดนมาร์กดูค่ะ นอกจากนี้เรื่องความนิยมเจ้าเขี้ยวเงินนี้ ถูกจัดอับดับอยู่ในหมวด “เรื่องแปลกที่คุณอาจจะไม่เชื่อในฟินแลนด์” ด้วยนะ โดยติดอันดับ 2 ของเรื่องแปลกในฟินแลนด์ ใครไปฟินแลนด์เจอภาพ เจอคนสัก ไอ้เขี้ยวเงิน ใส่เสื้อไอ้เขี้ยวเงิน ไม่ต้องแปลกใจนะคะ ขอขอบคุณข้อมูลจากคุณเพื่อนที่ไปอาศัยอยู่ที่นั่นและเล่าให้ฟังนะคะ จ ญ น ห อ ด ม ติดตามเรื่องราวที่น่าสนใจอื่นๆ ได้ที่ FB: เจ้าหญิงน้อยแห่งอันดามัน เรื่องที่เกี่ยวข้อง >> ข้อมูลอ้างอิงบางส่วน #ไอ้เขี้ยวเงินภาพโปรโมท WEED ในฟินแลนด์
มีหรือยัง สินค้าวางจำหน่ายแล้วนะ
ของสะสมของนักสะสมชาวฟินแลนด์ท่านหนึ่ง
ปัจจุบัน
3 เสือ (หมา) พี่น้อง
เรียบเรียงจากคำบอกเล่าและข้อมูลจากอินเตอร์เนท
ปล. ปีอาจคลาดเคลื่อนนะคะ พยายามอ้างอิงเต็มที่แล้ว การฟังคำบอกเล่ามันจะระบุช่วงปีได้ลำบาก
– เจ้าหญิงน้อยแห่งอันดามันตามรอยการ์ตูนในญี่ปุ่น ตอนที่ 15 : พาไปลุ้น LOTTO หวยขูดการ์ตูนดัง ใครจะเป็นเศรษฐี ชั้นน่ะสิ ชั้นน่ะสิ !
– เจ้าหญิงน้อยแห่งอันดามันตามรอยของมือสองในญี่ปุ่น ตอนที่ 4 ชี้เป้าขุมทรัพย์ของมือสองที่ KUMAMOTO
– เจ้าหญิงน้อยแห่งอันดามันตามรอยของมือสองในญี่ปุ่น ตอนที่ 3 : HARDOFF และ JUNK CORNER มุมสินค้าราคาสุดถูก
– เจ้าหญิงน้อยแห่งอันดามันตามรอยการ์ตูนในญี่ปุ่น ตอนที่ 12 พาร์ท 2 : 50 ยอดนักสู้ชาวไทยในมังงะญี่ปุ่น
– เจ้าหญิงน้อยแห่งอันดามันตามรอยการ์ตูนในญี่ปุ่น ตอนที่ 13 พาร์ท 1 : 50 ยอดนักสู้ชาวไทยในมังงะญี่ปุ่น
– gingainsane.blogspot.com
– en.wikipedia.org
– gingainsane.blogspot.com
– en.wikipedia.org
– finlandquest.wordpress.com