Marumura Entertainment
  • Home
  • Series
  • Movies
  • Music
  • Game & Cartoon
  • Variety
  • News Update
  • Home
  • Series
  • Movies
  • Music
  • Game & Cartoon
  • Variety
  • News Update
296K Likes
28K Followers
0 Followers
Subscribe
Marumura Entertainment
Marumura Entertainment
  • Home
  • Series
  • Movies
  • Music
  • Game & Cartoon
  • Variety
  • News Update
  • สาระบันเทิงญี่ปุ่น
  • เพลงญี่ปุ่น

สุกี้ยากี้ และเที่ยวบิน JL123

  • 03/05/2021
  • วีรยุทธ พจน์เสถียรกุล

สุกี้ยากี้ และเที่ยวบิน JL123

บทความโดย : วีรยุทธ พจน์เสถียรกุล www.marumura.com

เมื่อเอ่ยถึง ‘สุกี้ยากี้’ เชื่อว่าคนไทยส่วนใหญ่คงรู้จักกันเป็นอย่างดี แต่วันนี้เราจะไม่พูดถึงสุกี้ยากี้ที่เป็นอาหาร แต่จะพูดถึง ‘เพลงสุกี้ยากี้’ ที่เรา ๆ ท่าน ๆ รู้จักกันดี

สุกี้ยากี้ และเที่ยวบิน JL123

เพลงนี้ขับร้องโดย ซะกะโมะโตะ คิว (坂本九) ซึ่งมีชื่อและนามสกุลจริง ๆ ว่า โอชิมะ ฮิซะชิ (大島九) จริง ๆ แล้วคุณพ่อของฮิซะชิเคยแต่งงานมาแล้วครั้งหนึ่งก่อนมาแต่งงานกับคุณแม่ของฮิซะชิ ฮิซะชิเป็นลูกคนที่ 9 ของฝ่ายพ่อเมื่อนับรวมภรรยาคนเดิมของพ่อ เขาเลยได้ชื่อว่า ‘เก้า (九)’ แต่ให้มีลูกเล่นคือให้อ่านออกเสียงว่า ‘ฮิซะชิ’ แต่ภายหลังคุณพ่อคุณแม่ก็หย่ากัน ฮิซะชิไปอยู่ในอุปการะของญาติฝ่ายแม่ จึงใช้นามสกุล ‘โอชิมะ’ ตามฝ่ายแม่ แต่เมื่อเข้าสู่วงการร้องเพลงเมื่ออายุ 17 เขาเลือกกลับไปใช้นามสกุลของพ่อคือ ‘ซะกะโมะโตะ’ มาใช้ในวงการบันเทิง และใช้อักษร ‘เก้า’ ที่อ่านเสียงแบบปกติ จึงมีชื่อในวงการว่า ซะกะโมะโตะ คิว นั่นเอง

เพลงสุกี้ยากี้จริง ๆ มีชื่อญี่ปุ่นว่า อุเอะโอะ มุอิเตะ อะรุโค (上を向いて歩こう) ที่แปลว่า เงยหน้าเดินกันเถอะ เดบิวต์ในญี่ปุ่นเมื่อปี 1961 ซึ่งญี่ปุ่นยังอยู่ระหว่างฟื้นฟูประเทศที่พินาศหลังสงครามโลก จึงฮิตติดตลาดในญี่ปุ่นมากเพราะเพลงออกไปทางเศร้าแบบมีกำลังใจฮึกเหิม อีกทั้งน้ำเสียงของฮิซะชิและทำนองติดหูง่ายมาก เมื่อฮิตแล้วทางทีมผู้ผลิตก็มีความพยายามส่งแผ่นเสียงไปขายที่ยุโรปในปี 1962 รวมทั้งพยายามให้ฮิซะชิไปออกรายการที่ยุโรปด้วย แต่ไม่ประสบความสำเร็จใด ๆ ในความพยายามครั้งแรก ปัจจุบันมีคนวิเคราะห์สาเหตุที่ไม่ฮิตเพราะว่าหน้าปกแผ่นเสียงถอดเสียงญี่ปุ่นตรงตัวว่า UE O MUITE ARUKOU ในยุคที่ตะวันตกยังไม่ค่อยมีใครรู้จักญี่ปุ่น ถึงคนฟังจะชอบเพลงก็ไม่รู้จะเรียกว่าอะไร ดีเจหรือพิธีกรที่จัดรายการก็อ่านไม่ออก เลยไม่รู้จะเรียก ‘ไอ้เพลงนั้น’ ว่าอะไร ทำให้เสียโอกาสสร้างความนิยมไปอย่างน่าเสียดาย

จนเมื่อมกราคม 1963 นักดนตรีแจ๊สของอังกฤษที่ชื่อ Kenny Ball ได้ตั้งชื่อเพลงนี้ใหม่ว่า SUKIYAKI แล้วออกอัลบั้ม Instrumental Cover ทำให้เพลงนี้โด่งดังขึ้นมาทันที และมีผลสืบเนื่องให้เพลงต้นฉบับกลายเป็นเพลงฮิตทั่วโลกเช่นกัน โดยในปี 1963 เพลงสุกี้ยากี้ต้นฉบับก็ทะยานขึ้นติด Top 10 ของ Billboard Chart ของอเมริกา ด้วยสถิติเป็น non-European Language เพียงเพลงเดียวในชาร์ต รวมทั้งเป็นซิงเกิ้ลเดียวที่ขับร้องโดยนักร้องจากเอเชียในชาร์ต และติดอยู่ใน Top 100 ของ Billboard ตลอดกาลตั้งแต่ 1963 จนกระทั่งปี 2020 ที่โดนวง BTS จากเกาหลีทำลายสถิติลงได้

จากคำสัมภาษณ์ของ Kenny ได้กล่าวว่า ชื่อเพลงว่า UE O MUITE ARUKOU คือมันไม่รู้จะอ่านว่าอะไร แต่ก็อยากได้ชื่อภาษาญี่ปุ่นให้มัน Exotic เลยคิดว่ายุคนั้นตะวันตกรู้จักญี่ปุ่นแค่ 2 อย่างคือ SUKIYAKI กับ SAYONARA (เพราะมีภาพยนตร์ฮอลลีวู้ดเรื่อง SAYONARA ฉายแล้วเมื่อ ค. ศ. 1957 ฝรั่งเลยรู้จักคำนี้กันแพร่หลาย) Kenny ตัดสินใจใช้คำว่า SUKIYAKI แล้วก็ทำให้เพลงนี้กลายเป็นเพลงแห่งมนุษยชาตินับแต่บัดนั้น คนทั่วโลกไม่มีทางเข้าใจเนื้อเพลงภาษาญี่ปุ่นแน่นอน แต่สาเหตุที่ฮิตคือทำนองเพลงที่ฮึกเหิมมีกำลังใจแม้จะเศร้าก็ไม่ท้อถอย และชื่อเพลงที่เป็นตัวแทนแห่งญี่ปุ่นโดยแท้ เรียกว่าดนตรีคือภาษาสากลของโลกมนุษย์จริง ๆ

แต่แล้วก็เกิดเรื่องน่าเศร้าขึ้น คือวันที่ 12 สิงหาคม ค. ศ. 1985 เที่ยวบิน JL123 ที่ฮิซะชิใช้เดินทาง ประสบอุบัติเหตุสะเทือนขวัญ มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 520 คนรวมทั้งฮิซะชิด้วย และมีผู้รอดชีวิตแต่บาดเจ็บสาหัส 4 คน เนื่องจากเป็นช่วงใกล้เทศกาลโอบ้งของญี่ปุ่น รวมทั้งเป็นเครื่องบินที่มีแต่ชั้นประหยัดเกือบทั้งลำ (เนื่องจากบินแต่ในประเทศแค่ 1-2 ชั่วโมงก็ถึงที่หมาย) ทำให้จุผู้โดยสารได้จำนวนมาก อุบัติเหตุครั้งนี้จึงกลายเป็นสถิติโลกคืออุบัติเหตุทางการบินที่มีจำนวนผู้เสียชีวิตในอากาศยานลำเดียวที่มากที่สุดในโลก สาเหตุคือเกิดระเบิดที่ท้ายตัวเครื่องเนื่องจากแผงกั้นปรับความดันอากาศท้าย (Rear Pressure Bulkhead) ฉีกขาด เมื่อตรวจสอบในภายหลังจึงพบว่าเครื่องบินลำนี้เคยเกิดอุบัติเหตุท้ายลำกระแทกกับพื้นรันเวย์ขณะลงจอดในวันที่ 2 มิถุนายน 1978 แต่ไม่ได้รับการซ่อมบำรุงที่ถูกต้องตามมาตรฐาน และนำไปสู่การเกิดอุบัติร้ายแรงในวันที่ 12 สิงหาคม ค. ศ. 1985

แต่เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2020 ที่ผ่านมาตอนเกือบเที่ยงคืน เที่ยวบิน JL123 ที่ระเบิดแหลกทั้งลำไปแล้วในปี 1985 กลับมาปรากฎบนของแอพ Flight Radar 24 ซึ่งเป็นแอพที่ที่ใช้สัญญาณดาวเทียมแสดงภาพการเคลื่อนที่ของเครื่องบินบนฟ้าบนหน้าจอมือถือ แม้ทาง JAL จะอธิบายว่าเป็นเพียงความผิดพลาดทางเทคนิคที่เจ้าหน้าที่กรอกรหัสเที่ยวบินผิด แต่หลายท่านก็ขนลุกขนพองไปตาม ๆ กัน เพราะใกล้กับเทศกาลโอบ้งที่วิญญาณของผู้ล่วงลับจะกลับมาเยี่ยมโลกมนุษย์ ก็เกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นพอดีในเดือนที่ครบรอบ 35 ปีของโศกนาฏกรรมดังกล่าว ราวกับจะบอกว่า ‘อย่าลืมพวกเขา’ และ ‘รับผิดชอบต่อหน้าที่ให้ดีกว่าวันนั้นนะ’ เลยทีเดียว

บทความโดย : วีรยุทธ พจน์เสถียรกุล www.marumura.com

เรื่องแนะนำ >>
– Tokyo Love Story 1991 และ 2020 – ความแปลกแยกและความผิดฝาผิดตัวแห่งโตเกียว

#สุกี้ยากี้ และเที่ยวบิน JL123

Related Topics
  • Sakamoto Kyu
  • UE O MUITE ARUKOU
  • คนร้องเพลงสุกี้ยากี้
  • ซะกะโมะโตะ คิว
  • เพลง Sukiyaki
  • เพลงสุกี้ยากี้
วีรยุทธ พจน์เสถียรกุล

วีรยุทธ พจน์เสถียรกุล เป็นคนไทยเพียงไม่กี่คนที่เคยศึกษาที่มหาวิทยาลัยในประเทศญี่ปุ่นมาแล้วถึง 4 แห่ง โดยเคยได้รับทุนแลกเปลี่ยนระหว่างที่ว่าการจังหวัด Okinawaและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไปศึกษาที่ The University of the Ryukyus รวมทั้งเคยได้รับทุนรัฐบาลญี่ปุ่นแบบสอบผ่านสถานทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย ไปศึกษาที่ 1) Tokyo University of Foreign Studies /2) International Christian University / และ 3) Keio Universityมีประสบการณ์ทำงานที่หลากหลาย เคยเป็นผู้สื่อข่าวและผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ให้บริษัท Nippon Production Service (บริษัทในเครือสถานีโทรทัศน์ NHK) / เป็นผู้สอนภาษาไทยที่สถาบันภาษาไทยหลายแห่งในโตเกียว / เป็นผู้เชี่ยวชาญภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติที่สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) / เป็นที่ปรึกษาด้านธุรกิจและการตลาดให้บริษัท Corporate Directions Inc. ของประเทศญี่ปุ่น / เป็นผู้ก่อตั้งสาขาภาษาญี่ปุ่นธุรกิจของคณะศิลปศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ / เป็นผู้อำนวยการบริษัท AIRA Capital และเป็นทีมงานก่อตั้งบริษัท AIRA and AIFUL รวมทั้งบัตรกดเงินสด A-Money / เป็นที่ปรึกษาด้านทรัพยากรมนุษย์ของบริษัท TOYO Business Service / เป็นที่ปรึกษาด้านทรัพยากรมนุษย์ของบริษัท JECC ประเทศญี่ปุ่น / เป็นที่ปรึกษาด้านธุรกิจของบริษัท Business Consultants South East Asia / มีประสบการณ์สอนในมหาวิทยาลัยมากกว่า 10 แห่งในประเทศไทย / เป็นที่ปรึกษาและจัดฝึกอบรมให้องค์กรหลายแห่ง ปัจจุบันมีธุรกิจเล็ก ๆ ของตัวเองคือ บริษัท Consulting Agency for Talent จำกัด ทำธุรกิจให้คำปรึกษาด้านพัฒนาองค์กรและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (HROD และ HRD) / เป็นนักวิชาการอิสระ / วิทยากรอิสระ / นอกจากเขียนคอลัมน์ที่ Marumura แห่งนี้แล้ว ก็เขียนคอลัมน์ให้ธนาคารไทยพาณิชย์ / เขียนคอลัมน์ให้ The PEOPLE Online Magazine/ เขียนคอลัมน์ให้ Anngleยังคงใฝ่เรียนรู้สิ่งใหม่ต่าง ๆ อยู่เสมอแม้ว่าจะมีปริญญา 7 ใบแล้วก็ตาม ติดตามผลงานเขียนทั้งหมดของวีรยุทธได้ที่ https://www.facebook.com/รวมผลงานของวีรยุทธ-Weerayuths-Ideas-110765424910879

Previous Article
  • ซีรีส์ญี่ปุ่น

5 ซีรีส์ญี่ปุ่น แนวคุณหมอ ทุ่มสุดตัว เพื่อรักษาทุกชีวิต

  • 02/05/2021
  • ChaMaNow
View Post
Next Article
  • ซีรีส์ญี่ปุ่น

Oshare no Kotae ga Wakaranai สาวเฉิ่มแพ้ความหรู แต่ต้องปรับลุคเป็นคุณหนูสุดไฮแฟชั่น

  • 09/05/2021
  • ChaMaNow
View Post
Update
  • ต้อนรับเดือนแห่งความรัก ใน Phases of the Moon เกิดกี่ครั้งก็ยังเป็นเธอ
  • รีวิวซีรีส์ญี่ปุ่น Omameda Towako และอดีตสามีทั้งสามของเธอ
  • แนะนำ 3 ซีรีส์ Dori Sakurada …นิรากิ จาก Alice in Borderland
  • Phases of the Moon หนังญี่ปุ่นเข้าไทยในช่วงเดือนแห่งความรัก
  • หนังญี่ปุ่นเข้าไทย It’s in the Woods ป่าแปลกแลกตาย
Pickup
  • วงหนุมานญี่ปุ่น วงดนตรีจากญี่ปุ่น หัวใจไทย
  • หนังญี่ปุ่นเข้าไทย Brave Father Online : Our Story Final Fantasy XIV
  • ซีรี่ย์ญี่ปุ่นในช่วงฤดูใบไม้ร่วง ปี 2013
  • ชวนคุณเที่ยวทั่วญี่ปุ่น ก่อนร้องเพลงรักเพลงสุดท้าย ในหนังญี่ปุ่น “Farewell Song”
  • Tonight, at Romance Theater รักที่สัมผัสกันไม่ได้

⭕ คูปองส่วนลดร้านดองกิ

⭕ ดูดวงรายปี 2565

⭕ วันหยุดราชการญี่ปุ่น ประจำปี 2020

Social Links
Facebook
Twitter
Instagram
YouTube
Social Links WA-Japan
Facebook
Twitter
Categories
Game & Cartoon ข่าวบันเทิงญี่ปุ่น ซีรีส์ญี่ปุ่น สาระบันเทิงญี่ปุ่น หนังญี่ปุ่น เพลงญี่ปุ่น







Update
  • ต้อนรับเดือนแห่งความรัก ใน Phases of the Moon เกิดกี่ครั้งก็ยังเป็นเธอ
  • รีวิวซีรีส์ญี่ปุ่น Omameda Towako และอดีตสามีทั้งสามของเธอ
  • แนะนำ 3 ซีรีส์ Dori Sakurada …นิรากิ จาก Alice in Borderland
  • Phases of the Moon หนังญี่ปุ่นเข้าไทยในช่วงเดือนแห่งความรัก
  • หนังญี่ปุ่นเข้าไทย It’s in the Woods ป่าแปลกแลกตาย
Recent Posts
  • ความเคลื่อนไหวการเทิดทูนจักรพรรดิและขับไล่คนนอก
    ความเคลื่อนไหวการเทิดทูนจักรพรรดิและขับไล่คนนอก
    • 20.03.23
  • ญี่ปุ่นจัดอันดับอาชีพที่เด็กอยากเป็น
    ญี่ปุ่นจัดอันดับอาชีพที่เด็กอยากเป็น
    • 20.03.23
  • มาอ่าน “คัมภีร์ห้าห่วง” ของมูซาชิด้วยกันเถอะ (59) คัมภีร์แห่งเตโช (ไฟ): สิบเอ็ด สิ่งที่เรียกว่า การขยับเงา
    มาอ่าน “คัมภีร์ห้าห่วง” ของมูซาชิด้วยกันเถอะ (59) คัมภีร์แห่งเตโช (ไฟ): สิบเอ็ด สิ่งที่เรียกว่า การขยับเงา
    • 17.03.23
  • ชวนชม HIDARI งานสต๊อปโมชันจากหุ่นไม้สุดเจ๋ง
    ชวนชม HIDARI งานสต๊อปโมชันจากหุ่นไม้สุดเจ๋ง
    • 17.03.23
  • เที่ยวโตเกียว ศาลเจ้าสุงะ ตามรอยอนิเมะ Your Name
    เที่ยวโตเกียว ศาลเจ้าสุงะ ตามรอยอนิเมะ Your Name
    • 16.03.23
Pick up
  • Followers ผู้ติดตามที่แท้จริง พลังและศักดิ์ศรีของลูกผู้หญิง
    • 08/03/2020
  • อินุยาฉะประกาศอนิเมะภาคใหม่ที่เป็นรุ่นลูก
    • 10/05/2020
  • นักแสดงหญิงชื่อดัง Ashina Sei เสียชีวิตแล้ว
    • 14/09/2020
  • อัศวินผู้เฝ้าประตูแห่งกาลเวลา เซเลอร์พลูโต
    • 14/07/2020
  • LINE แอพแชทยอดฮิตจากญี่ปุ่น
    • 27/01/2013
Social Links
Facebook
Twitter
Instagram
YouTube
Social Links WA-Japan
Facebook
Twitter

Marumura Co.,Ltd.
591 UBC II 24F Sukhumvit Rd.
Wattana Bangkok 10110

Email : webmaster@marumura.com

PARTNER
Recent Posts
  • ต้อนรับเดือนแห่งความรัก ใน Phases of the Moon เกิดกี่ครั้งก็ยังเป็นเธอ
  • รีวิวซีรีส์ญี่ปุ่น Omameda Towako และอดีตสามีทั้งสามของเธอ
  • แนะนำ 3 ซีรีส์ Dori Sakurada …นิรากิ จาก Alice in Borderland
  • Phases of the Moon หนังญี่ปุ่นเข้าไทยในช่วงเดือนแห่งความรัก
  • หนังญี่ปุ่นเข้าไทย It’s in the Woods ป่าแปลกแลกตาย
Marumura Entertainment
Marumura Entertainment | สารพันบันเทิงญี่ปุ่น

Input your search keywords and press Enter.